th
th

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยรวมเรียกว่า “บริษัท” มีในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามหลักธรรมาภิบาล และจรรยาบรรณของบริษัทฯ บริษัทได้ตระหนักและได้เห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงประเด็นความเสี่ยงและการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ดังนั้น บริษัทฯจึงได้กำหนดวิธีปฏิบัติในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งครอบคลุมการตรวจสอบอย่างรอบด้านทั้งภายในองค์กรและห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ ดังต่อไปนี้

“สิทธิมนุษยชน (Human Rights)” หมายถึงสิทธิที่มีโดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนโดยไม่คำนึงถึง ความแตกต่างทางกาย จิตใจ เชื้อชาติ สัญชาติ ประเทศต้นกำเนิด เผ่าพันธุ์ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม หรือเรื่องอื่นใดตามกฎหมายของแต่ละประเทศ และตามสนธิสัญญาที่แต่ละประเทศมีพันธกรณีจะต้องปฏิบัติสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ การพ้นจากการเป็นทาสและการทรมาน การมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น และรวมกลุ่มกัน สิทธิในการทำงาน การศึกษา และอื่น ๆ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเท่าเทียมโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ

  1. การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนทั้งที่เกิดขึ้นแล้ว และที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะที่ผ่านการประกอบ กิจการ หรือเกี่ยวข้องกับบริษัทโดยตรง หรือบริษัทมีส่วนทำให้เกิดขึ้นผ่านการประกอบกิจการของบริษัท การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  2. การบูรณาการ การป้องกัน/บรรเทาความรุนแรงของผลกระทบและการเยียวยา
  3. ติดตามและการประเมินผล
  4. การสื่อสารและช่องทางการติดต่อ

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งในการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ทั้งนี้ในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนนั้น เพื่อเป็นการระบุความเสี่ยง และป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรือผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท และการดำเนินกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทานทั้งคู่ค้า คู่ธุรกิจ ผู้รับเหมา รวมทั้งครอบคลุมถึงบริษัทร่วมค้าและบริษัทร่วมทุนที่บริษัทไม่มีอำนาจในการบริหาร คู่ค้าคู่ธุรกิจ

การดำเนินการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อบุคคลด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวหลายหน่วยงาน บริษัทได้แต่งตั้ง “คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน” ซึ่งมีตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนดำเนินการ การกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน และนโยบายด้านการจ้างงาน และการบริหารแรงงาน โดยให้มีการรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารทุกไตรมาส เพื่อให้ดำเนินการทั้งในบริษัทและห่วงโซ่อุปทานเป็นไปตามนโยบายของบริษัท ซึ่งรวมทั้งการระบุประเด็นและระดับผลกระทบ การกำหนดมาตรการ เพื่อควบคุมและลดผลกระทบ การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ประเด็นและการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของบริษัทโดยครอบคลุมถึง บริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วมทุน คู่ธุรกิจ/ผู้รับเหมาในห่วงโซ่อุปทาน

แรงงาน/พนักงาน ลูกค้าผู้ใช้บริการ พันธมิตร/คู่ค้า/คู่ธุรกิจ/ผู้รับเหมา ในการดำเนินงานและในห่วงโซ่อุปทาน ชุมชน
  • สภาพการจ้าง
  • สุขอนามัยและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • การเจรจาต่อรอง
  • การใช้แรงงานตามกฎหมาย ไม่ผิดกฎหมาย เช่น แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก การค้ามนุษย์
  • สุขอนามัยและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การเป็นส่วนตัว
  • สุขอนามัยและความปลอดภัย
  • การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
  • การใช้แรงงานตามกฎหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชน
  • สุขอนามัยและความปลอดภัย
  • การมีส่วนร่วม

หลักเกณฑ์ในการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน พิจารณา จาก 2 ด้านหลัก ได้แก่

โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หรือความเป็นไปได้ที่จะเกิด

โอกาสที่จะเกิด ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก
แทบไม่เกิด (น้อยกว่า 5%) โอกาสเกิดขึ้นน้อย (5% - < 10%) เหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนเคยเกิดขึ้นในอดีตและอาจเกิดขึ้นน้อยครั้ง โอกาสเกิด (≥ 10% - < 40%)เหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนเคยเกิดขึ้นในอดีตและอาจเกิดขึ้นในปัจจุบัน บางครั้ง เกิดบ่อยครั้ง (≥ 40% - < 90%)เหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเคยเกิดขึ้นในอดีตและอาจเกิดขึ้นในปัจจุบันได้บ่อยครั้ง เกิดตลอดเวลา(≥ 90%) เหตุการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนเคยเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผลกระทบ (Severity) ระดับของความร้ายแรง ด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งพิจารณาได้จาก

  • ระดับของผลกระทบ ความร้ายแรงของผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลกระทบต่อ สุขภาพ จิตใจ
  • การเยียวยาผลกระทบ
โอกาสที่จะเกิด ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง สูงมาก
ระดับผลกระทบ ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ส่งผลต่อสุขภาพ อนามัย และความปลอดภัยของ ผู้เสียหาย/ถูกละเมิด สามารถบรรเทาได้ด้วยการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็กน้อยต้องมีการรักษาโดยแพทย์ แต่ไม่ได้รับบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยถึงขั้นหยุดงานไม่เกิน 30 วัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยถึงขั้นหยุดงาน มากกว่า 30 วัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรงและเป็นอันตรายต่อชีวิต
การเยียวยา เยียวยาผู้เสียหาย/ถูกละเมิดจนปกติในระยะเวลา < 1 เดือน เยียวยาผู้เสียหาย/ถูกละเมิดจนปกติในระยะเวลา ≥ 1 เดือน - < 1 ปี เยียวยาผู้เสียหาย/ถูกละเมิดจนปกติในระยะเวลา 1 - < 2 ปี เยียวยาผู้เสียหาย/ถูกละเมิดจนปกติปกติในระยะเวลา ≥ = 2 - 3 ปี การเยียวยาผู้เสียหาย/ถูกละเมิดเวลานาน มากกว่า 3 ปี

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ใช้ตาราง Metrix 5*5 โดยพิจารณาจาก 2 มิติ ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดและผลกระทบ โดยแบ่งเป็น 5 ระดับได้แก่ สูงมาก สูง ปานกลาง ต่ำ และต่ำมาก

ความเสี่ยงระดับต่ำ ต่ำมาก สีเขียว คะแนน = 1-4 (คะแนน=1 เป็นความเสี่ยงระดับต่ำมาก) เป็นความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ ไม่ต้องมีกิจกรรมควบคุมเพิ่มเติม แต่เจ้าของความเสี่ยงต้องมีการติดตามผลกระทบและทำการรายงานความคืบหน้า ติดตามผลกระทบตามที่กำหนด เป็นระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ทั้งนี้คะแนน 1,2 ไม่ต้องรายงานความคืบหน้า

ความเสี่ยงระดับปานกลาง สีเหลือง คะแนน = 5-12 เป็นความเสี่ยงในระดับยอมรับไม่ได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องกิจกรรมควบคุมความเสี่ยง โดยจะใช้กิจกรรมเดิมที่ปฏิบัติอยู่เป็นแผนการควบคุมความเสี่ยง หรือ พิจารณาเพิ่มเติมกิจกรรมควบคุมความเสี่ยงเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้โดย ในระยะเวลาที่กำหนด

ความเสี่ยงระดับสูง-สูงมาก สีส้ม คะแนน = 15-25 (คะแนน=25 เป็นความเสี่ยงระดับ สูงมาก) เป็นความเสี่ยงในระดับยอมรับไม่ได้ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ต้องพิจารณาหยุด หรือระงับบางกิจกรรมที่มีผลกระทบรุนแรง และมีแผนกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงลงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

  1. การดำเนินการเพื่อป้องกัน/บรรเทาความรุนแรงของผลกระทบในภาพรวม

    บริษัทได้กำหนดนโยบายและการดำเนินการต่างๆในการที่จะป้องกัน/บรรเทาความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยบริษัท มีการประกาศนโยบายต่างๆ เพื่อเป็นหลักปฏิบัติให้พนักงานของบริษัทได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และมีการทบทวน เป็นระยะ ได้แก่ จรรยาบรรณ นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายการจ้างแรงงานและการบริหารแรงงาน นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั่วไป และ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พนักงาน นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน นโยบายการบริหารงานจัดซื้อจัดจ้าง นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นโยบายสิ่งแวดล้อม

    นอกจากนี้ บริษัทมีมาตรการอื่น เพื่อเป็นการป้องกัน/บรรเทาผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็น การประกันคุณภาพ (Quality Assurance) การทำ Customer Engagement การทำ Employee Engagement การจัดทำระเบียบวิธีปฏิบัติงานและคู่มือต่างๆ ที่การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติที่ชัดเจนอย่างชัดเจน การจัดอบรมแบบ E -leaning ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องทั้งในเรื่องสิทธิมนุษยชน และความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้กับพนักงานทุกระดับ การจัดประชุมคู่ค้า/คู่ธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานประจำปีเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับดำเนินการตามหลักสิทธิมนุษยชนเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการตระหนักและถือปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

  2. การดำเนินการบริหารความเสี่ยงในหัวข้อที่สำคัญ ที่อาจส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง

    การดำเนินการเพื่อเป็นการยับยั้ง/บรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดให้มีหน่วยงาน/คณะทำงานที่รับผิดชอบในฐานะที่เป็นเจ้าของความเสี่ยง เพื่อให้การบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและให้มีรายการผลการดำเนินการต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

  3. การเยียวยา

    ในการดำเนินการเพื่อเยียวยาให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทนั้น บริษัทจะพิจารณเยียวยาทั้งรูปแบบที่เป็นตัวเงิน และที่ไม่เป็นตัวเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท โดยพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นแต่ละกรณีไป

  1. ให้มีการกำหนดเป้าหมาย รวมทั้งให้มีระบบการติดตามและทบทวนประเมินผลการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำ
  2. การติดตามเป็นกระบวนการที่สำคัญในการดำเนินการเพื่อป้องกัน ยับยั้งและบรรเทาไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิ มนุษยชนอย่างต่อเนื่องหรือเกิดการละเมิดซ้ำ ทั้งนี้ ในการติดตามจะดำเนินการโดยมีการพิจารณากำหนดตัวชี้วัดทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณตามความเหมาะสมและความจำเป็นในแต่ละประเด็น ตัวอย่าง ตัวชี้วัด เช่น
    • ร้อยละของพนักงานที่ได้รับการอบรมเรื่องสิทธิมนุษยชน
    • จำนวนข้อร้องเรียนของพนักงานต่อองค์กร
    • อัตราการลาออกของพนักงานที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย ไม่ถูกความสุขอนามัย
    • คะแนน Employee Engagement
    • คะแนน Customer Engagement

การสื่อสารเพื่อเป็นการเปิดเผยไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย ทั้งภายในและภายนอกองค์กรเพื่อแจ้งให้ทราบถึงการจัดการ ทั้งนี้การเปิดเผยจะดำเนินการผ่านรายงานความยั่งยืน รายงานประจำปี เว็ปไซต์ของบริษัท ช่องทางการสื่อสารภายในบริษัท และนอกจากนี้บริษัทยังได้ดำเนินการ จัดอบรมพนักงาน แบบ E -leaning ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้ง จัดประชุมคู่ค้า/คู่ธุรกิจ/ผู้รับเหมาเพื่อชี้แจงโยบายด้านสิทธิมนุษยชนและนโยบายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการตระหนักและถือปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน

ช่องทางการติดต่อกับบริษัท นอกจากช่องทางติดต่อภายในของบริษัทสำหรับพนักงานภายในบริษัทแล้วยังสามารถผ่านช่องทางติดต่อดังต่อไปนี้

บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

662 อ่อนนุช 17 แขวงสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

โทรศัพท์ 02 019 5000

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนตามนโยบายเกี่ยวกับการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส (Whistleblower Policy) ผ่าน

กรณีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามช่องทางข้างต้น และ